“คุณวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนาพิเศษหัวข้อ “ESG Leads to Corporate Brand Sustainability

“คุณวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนาพิเศษหัวข้อESG Leads to Corporate Brand Sustainability ในงาน ASEAN and Thailands Top Corporate Brands 2022” จัดโดยหลักสูตรปริญญาโท สาขาการจัดการแบรนด์และการตลาด ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“คุณวสิษฐ” กล่าวว่า ปัญหาและความท้าทายที่ทั่วโลกเผชิญในปัจจุบัน ทั้งสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรง จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เอง การทำธุรกิจในวันนี้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือที่เรียกว่า ESG (Environment, Social and Governance)” เพื่อสร้างการเติบโตไปด้วยกันทั้งธุรกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมา เบทาโกรนำแนวคิด ESG มาปรับใช้ด้วยการเชื่อมโยงการทำงานเพื่อสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากการสื่อสารให้พนักงานมีความเข้าใจในตัวตน จุดประสงค์ ความเชื่อ ค่านิยมในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเป้าหมายระยะยาวขององค์กร เพื่อร่วมกันสร้างความยั่งยืนอย่างมีจุดมุ่งหมาย ด้วยการร่วมกันประเมินสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ แล้วเชื่อมไปสู่การสื่อสารของแบรนด์ โดยให้ความสำคัญกับการระบุและการจัดลำดับประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย (Material Matrix) ทั้งด้านบวกและลบ ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำของการดำเนินธุรกิจเบทาโกร

โดยตลอดระยะเวลากว่า 55 ปีที่ผ่านมา เบทาโกรยึดมั่นในวัตถุประสงค์ที่ “ต้องการช่วยให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยอาหารที่มีคุณภาพมากกว่าและมีความปลอดภัยที่สูงกว่า ในราคาที่เป็นธรรม เพราะเราเชื่อว่าทุกคนต้องมีทางเลือกและสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพมากกว่าและมีความปลอดภัยที่สูงกว่าในราคาที่เป็นธรรม สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญของชีวิต และเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเราต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของเรา

เพราะเหตุนี้ เบทาโกรจึงมุ่งสร้าง Unique Value Proposition ด้วยการวิจัยและพัฒนา การคิดค้นและสำรวจนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยมีมาตรฐานการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบและแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพเข้าไปในระบบอาหารของประเทศไทย ทั้งหมู ไก่ ไข่

“คุณวสิษฐ” กล่าวอีกว่า เบทาโกรยังได้พัฒนาแบรนด์ผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ทุกกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มประหยัด (Economy) กลุ่มมาตรฐาน (Standard) และกลุ่มพรีเมียม (Premium) รวมถึงการคิดค้นวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ลดการใช้ยาต้านจุลชีพในเนื้อหมู เนื้อไก่ และไข่ไก่ โดย S-Pure ถือเป็นแบรนด์แรกของโลกและของไทยที่ได้รับการรับรอง “การเลี้ยงโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ (Raise Without Antibiotics - RWA)” โดย NSF International” ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการจัดหาแหล่งโปรตีนใหม่ ๆ ที่เป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food) อย่างโปรตีนทางเลือก (Alternative Protein) อีกด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ เบทาโกรยังทำงานร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อยกระดับธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกับสังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทั้งการขจัดความอดอยาก สร้างความมั่นคงทางอาหาร การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน การสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

การดำเนินธุรกิจของเบทาโกรตลอดเวลาที่ผ่านมาเรายึดมั่นกับเจตจำนง หรือคำมั่นสัญญาขององค์กร ที่เป็นวัตถุประสงค์และความเชื่อขององค์กรที่ต้องการสร้างโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพมากกว่า และมีความปลอดภัยสูงกว่า ในราคาที่เป็นธรรม เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ ตอบโจทย์การสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) รวมถึงให้คนมีสุขภาพ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ในฐานะส่วนหนึ่งของสังคม เบทาโกรเชื่อว่า ทุกภาคส่วนควรมีบทบาทที่สำคัญในการร่วมกันทำงาน ตามบทบาท หน้าที่ หรือภารกิจ ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง Ecosystems ด้านอาหารให้มีความยั่งยืน และในที่สุดความร่วมมือนี้อาจนำมาซึ่งการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารในทุกมิติ และที่สำคัญจะมีความยั่งยืนเนื่องจากมีพื้นฐานมาจากความร่วมมือกันในทุกองคาพยพ ตรงนี้จึงไม่ใช่การสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรเท่านั้น แต่ยังสร้างความเข้มแข็ง และการเติบโตไปด้วยกันทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลอีกด้วย